ตอนที่ 2 : แรงกดดันเพิ่มขึ้น ทำให้ก๊าซมีปริมาตรลดลง
จากบนความก่อนหน้า เรื่อง “ปฐมบทความรู้ ที่ต้องรู้สำหรับการดำน้ำลึก“ เราได้คุยกันถึงเรื่องแรงกดดันกันไปแล้ว ทำให้เราได้เข้าใจกันแล้วว่า เวลาดำน้ำลึก เราจะต้องแบกน้ำหนักรอบตัว หรือร้บแรงกดดันอยู่แค่ไหน ในบทความนี้เราจะได้รู้ถึงผลกระทบที่เกิดจากแรงกดดันในการดำน้ำลึกกันเพิ่มเติมว่ามันกระทบกับการดำน้ำของเราในเรื่องไหนบ้าง คำถาม : ทำไมเมื่อแรงกดดันเพิ่มขึ้น แล้วก๊าซถึงมีปริมาตรน้อยลง ลองนึกถึงลูกโป่งสักลูก มีอากาศอยู่ภายใน แล้วเราเอามือบีบลูกโป่งนั้น จะสังเกตว่าลูกโป่งมีขนาดเล็กลงได้ นั่นก็เพราะว่า เราเพิ่มแรงกดดันไปที่ลูกโป่งด้วยการบีบ ทำให้อากาศที่อยู่ภายในลูกโป่งนั้นมีปริมาตรหรือขนาดเล็กลง ในทางกลับกัน หากเราลดแรงกดดันลง ก็จะทำให้อากาศในลูกโป่ง ขยายตัวออก ทำให้ลูกโป่งมีขนาดที่ใหญ่ขึ้นได้นั่นเอง ถ้ายังนึกภาพไม่ออก ลองดู Clip VDO นี้ได้นะ จาก Clip VDO จะเห็นว่าตอนที่เอาลูกโป่งใส่โหลลงจากผิวน้ำไปยังที่ที่ลึกขึ้น ขนาดของลูกโป่งจะมีขนาดเล็กลง นั่นเพราะแรงดันรอบตัวที่เกิดจากน้ำเพิ่มขึ้น จึงบืบให้ขนาดของก๊าซในลูกโป่ง มีขนาดที่เล็กลง ทำให้ขนาดของลูกโป่งเล็กลงด้วยนั่นเอง ส่วนเมื่อเราน้ำลูกโป่งที่บรรจุก๊าซจากที่ลึก กลับขึ้นมาสู่ที่ตื้น จะเห็นว่าลูกโป่งขยายตัวขึ้น เพราะว่าแรงดันรอบตัวของน้ำนั้นลดลง จึงทำให้ก๊าซที่อยู่ในลูกโป่ง ขยายตัวกลับมา ซึ่งหากก๊าซในลูกโป่งขยายตัวมากขึ้น จนเกิดขีดจำกัดของภาชนะที่บรรจุอยู่จะรับการขยายตัวได้ ก็จะทำให้ภาชนะนั้นฉีกขาดนั่นเอง ซึ่งกรณีนี้คล้ายกับอันตรายของการดำน้ำเมื่อเรากลั้นหายใจนั่นเอง โดยจริงๆแล้วมันเกิดการการเปลี่ยนแปลงแรงกดดันนั่นเอง คำถาม : [...]
Read more